ตอนที่หนังเรื่อง Melody หรือ “เมโลดี ที่รัก” เข้าฉายบ้านเรานั้น “ผมยังละอ่อนและซนแก่น” (ตรงนี้จะอ่านโดยร้องเป็นเพลงไปด้วยก็ได้นะครับ) เกินกว่าจะสนใจ จนต่อมาเมื่อโตขึ้นอีกนิด จึงค่อยรู้ซึ้งถึงอิทธิฤทธิ์ความโด่งดังของหนังเรื่องนี้
Melody เป็นหนังอังกฤษ สร้างเมื่อปี 1971 กำกับโดยวอร์ริส ฮัสไซน์ แต่คนที่มีชื่อเสียงประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงในเวลาต่อมาคือ อลัน พาร์คเกอร์ ผู้เขียนบท
Melody เจ๊งกระจายไม่เป็นท่าทั้งในอังกฤษและอเมริกา ทว่าหลังจากนั้นก็ค่อย ๆ ขึ้นหิ้งงานคลาสสิค เป็นขวัญใจของผู้ชมแบบหนังเฉพาะกลุ่ม (ซึ่งมีศัพท์เรียกขานกันว่า หนัง Cult) ที่น่าทึ่งก็คือ หนังประสบความสำเร็จท่วมท้นถล่มทลายในญี่ปุ่น (รวมถึงบ้านเรา) และบางประเทศทางแถบอเมริกาใต้
เฉพาะบ้านเรานั้น ผลสะเทือนจากหนังเรื่องนี้ ทำให้โปสเตอร์ติดฝาผนังภาพมาร์ค เลสเตอร์และเทรซี ไฮด์ คู่พระคู่นางในหนัง ขายดิบขายดีต่อเนื่องไปอีกนานหลายปี จนกระทั่งผมโตพอจะรู้ความหัดดูหนังฝรั่งแล้ว ความฮิตของเรื่องเมโลดีก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะเลิกราหรือซาสร่างจางลง
ผมมามีโอกาสได้ดูเมโลดีครั้งแรก เมื่อเป็นวัยรุ่นเต็มตัว (ปัจจุบันอายุผมเทียบเท่ากับวัยรุ่นเต็มตัวจำนวนสองตัวรวมกัน) ตอนยุคที่แรกเริ่มมีวิดีโอเผยแพร่ในบ้านเราเรียบร้อยแล้ว ผลก็คือ ซาบซึ้งประทับใจและตกหลุมรักหนังเรื่องนี้เข้าอย่างจัง
จนกาลเวลาคล้อยเคลื่อนเข้าสู่ยุคดีวีดี เรื่องเมโลดีถือเป็นหนึ่งในหนังที่ผมเล็งไว้ว่าจะต้องซื้อหามาครอบครอง แต่ที่น่าแปลกก็คือ มันกลับกลายเป็นหนังหายาก และแทบไม่เคยปรากฎเป็นดีวีดีให้เห็นกันเลย
ล่าสุดผมก็เจอดีวีดีเรื่อง ซึ่งเป็นแผ่นที่ผลิตและออกจำหน่ายในญี่ปุ่น ปราศจากคำบรรยายภาษาอื่น ๆ ขณะที่ในหนังนั้นตัวละครพูดด้วยสำเนียงค็อกนีย์ซึ่งฟังยากเกินกว่าจะเข้าใจ แต่ต่อให้พูดจาชัดเจนกว่านี้ คนเก่งภาษาอังกฤษในทางติดลบอย่างผมก็ฟังไม่ออกหรอกนะครับ
ผมจึงจำเป็นต้องหันไปพึ่งพาใช้บริการของแผ่นแม่สาย (ผิดกฎหมายนะครับ ควรเลือกซื้อเฉพาะในกรณีจำเป็นเท่านั้น) ซึ่งนอกจากจะมีคำบรรยายไทยแล้ว ยังมีให้เลือกฟังเสียงพากย์ไทย โดยทีมพันธมิตรอีกต่างหาก
ก็เป็นไปตามปกติวิสัยของการหยิบเอาหนังเก่าที่เคยชื่นชอบประทับใจในอดีตมาดูซ้ำ ความรู้สึกไม่มั่นใจเกรงว่า จะไม่ดีเท่าเดิม หรือพบเห็นร่องรอยความเชยย่อมมีอยู่เยอะ
ข่าวดีก็คือ เมโลดีเป็นผลงานที่มีบรรยากาศและกลิ่นอายของหนังเก่าอยู่จริง (เช่น เสื้อผ้า ทรงผมของตัวละคร บ้านเรือน ข้าวของเครื่องใช้ รถยนต์ที่ปรากฎอยู่ในฉากหลัง ทั้งหมดนี้ดูห่างไกลจากสภาพปัจจุบันอยู่หลายสิบปี) แต่พ้นจากนี้แล้วก็ไม่มีอะไรเชย ทั้งประเด็นทางเนื้อหาและลีลาการเล่าเรื่อง เคยสร้างความประทับใจในกาลเก่าก่อนได้เพียงไร มาดูกันทุกวันนี้ก็ยังสามารถซาบซึ้งประทับใจได้เท่าเดิม
เปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น เนื้อเรื่องและบรรยากาศหลายฉากหลายตอนในเมโลดี ชวนให้นึกไปถึงหนังไทยอย่าง “แฟนฉัน” อยู่บ้างเหมือนกัน คือ เป็นเรื่องราวความรักในวัยเยาว์ หรือที่เรียกกันว่า puppy love (ความรักของลูกหมา)
ที่แตกต่างกันอยู่บ้างก็คือ “แฟนฉัน” นั้นสะท้อนภาพความผูกพันระหว่างตัวเอก ในด้านบริสุทธิ์สวยงาม มีน้ำหนักของความเป็นเพื่อนผู้รู้ใจมากกว่ารักกันลั่นเปรี้ยงแบบชายหนุ่มหญิงสาว รวมทั้งแง่มุมปลีกย่อยเกี่ยวกับเด็กชายที่มีเพื่อนเล่นเป็นหญิง และอยากจะทำตัวให้เป็นที่ยอมรับเพื่อเข้ากลุ่มกับเด็กซน ๆ เพศเดียวกัน ขณะที่ในเมโลดีนั้น เจ้าหนูตัวเอก เป็นลูกคนรวยฐานะดี เปลี่ยวเหงา ไม่เข้าพวกกับใคร ซ้ำร้ายความผูกพันกับพ่อแม่ ก็ดูเหมือนมีช่องว่างเหินห่าง เหมือนอยู่คนละโลก เป็นเหตุให้เมื่อพบกับสาวน้อย (ที่เปลี่ยวเหงาพอ ๆ กัน) ชื่อเมโลดี ทั้งสองจึงตกหลุมรักแบบไร้เดียงสากันอย่างรวดเร็ว ถึงขั้นตัดสินใจว่าจะแต่งงาน โดยไม่รู้ไม่เข้าใจเสียด้วยซ้ำว่า การใช้ชีวิตคู่อยู่ร่วมกันแบบผู้ใหญ่นั้นเป็นเช่นไร? (ทั้งเขาและเธอ คิดแค่ว่า แต่งงานแล้ว จะได้มีเวลาอยู่ด้วยกันเยอะ ๆ)
นอกจากเมโลดีจะเสนอแง่มุมว่าด้วยความรักแก่แดดแก่ลมเกินวัยแล้ว ประเด็นรองลงมาของหนังกลับแรงมาก คือ สะท้อนเนื้อหาว่าด้วยความขัดแย้งในโลกของเด็กกับผู้ใหญ่ ซึ่งเต็มไปด้วยการไม่ลงรอย จนนำไปสู่พฤติกรรมต่อต้าน ดื้อด้าน และถึงขั้นลุกขึ้นมาทำบางสิ่งบางอย่าง ในลักษณะที่เป็น “ขบถ” ต่อกฎระเบียบคำสั่งของพวกผู้ใหญ่
อย่างไรก็ตาม คุณพี่อลัน พาร์คเกอร์แกก็เก่งจริง ๆ ในการทำให้เรื่องราวที่ล่อแหลมคาบลูกคาบดอก ออกมาในลีลานุ่มนวล อ่อนโยน และควบคุมระดับความก้าวร้าวต่าง ๆ ให้อยู่ในขอบเขตของความน่ารักน่าเอ็นดู
หนังเต็มไปด้วยอารมณ์สุข เศร้า เหงา และรักครบถ้วนตามธรรมเนียม และยิ่งโดดเด่นมากเมื่อใช้เพลงประกอบของวงบีจีส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะฉากที่เด็กหญิงเมโลดีเล่นหยอกเย้ากับปลาทองในบ่อน้ำตื้น ๆ ตามลำพัง รวมถึง “ภาพจำ” ที่คู่พระเอกนางเอกวัยเยาว์ นั่งกอดคอกันตากฝน โดยมีเพียงกระเป๋าหนังใบเล็ก ๆ แทนร่ม เป็นภาพสั้น ๆ ที่ไม่มีอะไรเร่งเร้าหรือพิเศษพิศดาร แต่เห็นแล้วก็ขนลุกและรู้สึกได้ทันทีว่า “จี๊ด” มาก
เช่นเดียวกับตอนที่ดู “แฟนฉัน” จบลง เรื่องเมโลดีก็ทำให้ผมต้องหวนระลึกนึกย้อนไปถึงหญิงสาวคนหนึ่งชื่อน้องกุ๊กไก่ ที่เคยเรียนชั้นป. 2 ด้วยกัน ซึ่งเป็นการแอบรักอยู่ฝ่ายเดียวครั้งแรกในชีวิตของผม
ถ้าเธอเผอิญได้มีโอกาสอ่านข้อเขียนชิ้นนี้ ผมก็อยากจะบอกว่า ยังคิดถึงอยู่เสมอ และขอโทษด้วยที่เคยทำตัวโรแมนติคแซ่บซึ้ง ด้วยการแย่งขนมของกุ๊กไก่มากิน
Melody เป็นหนังอังกฤษ สร้างเมื่อปี 1971 กำกับโดยวอร์ริส ฮัสไซน์ แต่คนที่มีชื่อเสียงประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงในเวลาต่อมาคือ อลัน พาร์คเกอร์ ผู้เขียนบท
Melody เจ๊งกระจายไม่เป็นท่าทั้งในอังกฤษและอเมริกา ทว่าหลังจากนั้นก็ค่อย ๆ ขึ้นหิ้งงานคลาสสิค เป็นขวัญใจของผู้ชมแบบหนังเฉพาะกลุ่ม (ซึ่งมีศัพท์เรียกขานกันว่า หนัง Cult) ที่น่าทึ่งก็คือ หนังประสบความสำเร็จท่วมท้นถล่มทลายในญี่ปุ่น (รวมถึงบ้านเรา) และบางประเทศทางแถบอเมริกาใต้
เฉพาะบ้านเรานั้น ผลสะเทือนจากหนังเรื่องนี้ ทำให้โปสเตอร์ติดฝาผนังภาพมาร์ค เลสเตอร์และเทรซี ไฮด์ คู่พระคู่นางในหนัง ขายดิบขายดีต่อเนื่องไปอีกนานหลายปี จนกระทั่งผมโตพอจะรู้ความหัดดูหนังฝรั่งแล้ว ความฮิตของเรื่องเมโลดีก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะเลิกราหรือซาสร่างจางลง
ผมมามีโอกาสได้ดูเมโลดีครั้งแรก เมื่อเป็นวัยรุ่นเต็มตัว (ปัจจุบันอายุผมเทียบเท่ากับวัยรุ่นเต็มตัวจำนวนสองตัวรวมกัน) ตอนยุคที่แรกเริ่มมีวิดีโอเผยแพร่ในบ้านเราเรียบร้อยแล้ว ผลก็คือ ซาบซึ้งประทับใจและตกหลุมรักหนังเรื่องนี้เข้าอย่างจัง
จนกาลเวลาคล้อยเคลื่อนเข้าสู่ยุคดีวีดี เรื่องเมโลดีถือเป็นหนึ่งในหนังที่ผมเล็งไว้ว่าจะต้องซื้อหามาครอบครอง แต่ที่น่าแปลกก็คือ มันกลับกลายเป็นหนังหายาก และแทบไม่เคยปรากฎเป็นดีวีดีให้เห็นกันเลย
ล่าสุดผมก็เจอดีวีดีเรื่อง ซึ่งเป็นแผ่นที่ผลิตและออกจำหน่ายในญี่ปุ่น ปราศจากคำบรรยายภาษาอื่น ๆ ขณะที่ในหนังนั้นตัวละครพูดด้วยสำเนียงค็อกนีย์ซึ่งฟังยากเกินกว่าจะเข้าใจ แต่ต่อให้พูดจาชัดเจนกว่านี้ คนเก่งภาษาอังกฤษในทางติดลบอย่างผมก็ฟังไม่ออกหรอกนะครับ
ผมจึงจำเป็นต้องหันไปพึ่งพาใช้บริการของแผ่นแม่สาย (ผิดกฎหมายนะครับ ควรเลือกซื้อเฉพาะในกรณีจำเป็นเท่านั้น) ซึ่งนอกจากจะมีคำบรรยายไทยแล้ว ยังมีให้เลือกฟังเสียงพากย์ไทย โดยทีมพันธมิตรอีกต่างหาก
ก็เป็นไปตามปกติวิสัยของการหยิบเอาหนังเก่าที่เคยชื่นชอบประทับใจในอดีตมาดูซ้ำ ความรู้สึกไม่มั่นใจเกรงว่า จะไม่ดีเท่าเดิม หรือพบเห็นร่องรอยความเชยย่อมมีอยู่เยอะ
ข่าวดีก็คือ เมโลดีเป็นผลงานที่มีบรรยากาศและกลิ่นอายของหนังเก่าอยู่จริง (เช่น เสื้อผ้า ทรงผมของตัวละคร บ้านเรือน ข้าวของเครื่องใช้ รถยนต์ที่ปรากฎอยู่ในฉากหลัง ทั้งหมดนี้ดูห่างไกลจากสภาพปัจจุบันอยู่หลายสิบปี) แต่พ้นจากนี้แล้วก็ไม่มีอะไรเชย ทั้งประเด็นทางเนื้อหาและลีลาการเล่าเรื่อง เคยสร้างความประทับใจในกาลเก่าก่อนได้เพียงไร มาดูกันทุกวันนี้ก็ยังสามารถซาบซึ้งประทับใจได้เท่าเดิม
เปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น เนื้อเรื่องและบรรยากาศหลายฉากหลายตอนในเมโลดี ชวนให้นึกไปถึงหนังไทยอย่าง “แฟนฉัน” อยู่บ้างเหมือนกัน คือ เป็นเรื่องราวความรักในวัยเยาว์ หรือที่เรียกกันว่า puppy love (ความรักของลูกหมา)
ที่แตกต่างกันอยู่บ้างก็คือ “แฟนฉัน” นั้นสะท้อนภาพความผูกพันระหว่างตัวเอก ในด้านบริสุทธิ์สวยงาม มีน้ำหนักของความเป็นเพื่อนผู้รู้ใจมากกว่ารักกันลั่นเปรี้ยงแบบชายหนุ่มหญิงสาว รวมทั้งแง่มุมปลีกย่อยเกี่ยวกับเด็กชายที่มีเพื่อนเล่นเป็นหญิง และอยากจะทำตัวให้เป็นที่ยอมรับเพื่อเข้ากลุ่มกับเด็กซน ๆ เพศเดียวกัน ขณะที่ในเมโลดีนั้น เจ้าหนูตัวเอก เป็นลูกคนรวยฐานะดี เปลี่ยวเหงา ไม่เข้าพวกกับใคร ซ้ำร้ายความผูกพันกับพ่อแม่ ก็ดูเหมือนมีช่องว่างเหินห่าง เหมือนอยู่คนละโลก เป็นเหตุให้เมื่อพบกับสาวน้อย (ที่เปลี่ยวเหงาพอ ๆ กัน) ชื่อเมโลดี ทั้งสองจึงตกหลุมรักแบบไร้เดียงสากันอย่างรวดเร็ว ถึงขั้นตัดสินใจว่าจะแต่งงาน โดยไม่รู้ไม่เข้าใจเสียด้วยซ้ำว่า การใช้ชีวิตคู่อยู่ร่วมกันแบบผู้ใหญ่นั้นเป็นเช่นไร? (ทั้งเขาและเธอ คิดแค่ว่า แต่งงานแล้ว จะได้มีเวลาอยู่ด้วยกันเยอะ ๆ)
นอกจากเมโลดีจะเสนอแง่มุมว่าด้วยความรักแก่แดดแก่ลมเกินวัยแล้ว ประเด็นรองลงมาของหนังกลับแรงมาก คือ สะท้อนเนื้อหาว่าด้วยความขัดแย้งในโลกของเด็กกับผู้ใหญ่ ซึ่งเต็มไปด้วยการไม่ลงรอย จนนำไปสู่พฤติกรรมต่อต้าน ดื้อด้าน และถึงขั้นลุกขึ้นมาทำบางสิ่งบางอย่าง ในลักษณะที่เป็น “ขบถ” ต่อกฎระเบียบคำสั่งของพวกผู้ใหญ่
อย่างไรก็ตาม คุณพี่อลัน พาร์คเกอร์แกก็เก่งจริง ๆ ในการทำให้เรื่องราวที่ล่อแหลมคาบลูกคาบดอก ออกมาในลีลานุ่มนวล อ่อนโยน และควบคุมระดับความก้าวร้าวต่าง ๆ ให้อยู่ในขอบเขตของความน่ารักน่าเอ็นดู
หนังเต็มไปด้วยอารมณ์สุข เศร้า เหงา และรักครบถ้วนตามธรรมเนียม และยิ่งโดดเด่นมากเมื่อใช้เพลงประกอบของวงบีจีส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะฉากที่เด็กหญิงเมโลดีเล่นหยอกเย้ากับปลาทองในบ่อน้ำตื้น ๆ ตามลำพัง รวมถึง “ภาพจำ” ที่คู่พระเอกนางเอกวัยเยาว์ นั่งกอดคอกันตากฝน โดยมีเพียงกระเป๋าหนังใบเล็ก ๆ แทนร่ม เป็นภาพสั้น ๆ ที่ไม่มีอะไรเร่งเร้าหรือพิเศษพิศดาร แต่เห็นแล้วก็ขนลุกและรู้สึกได้ทันทีว่า “จี๊ด” มาก
เช่นเดียวกับตอนที่ดู “แฟนฉัน” จบลง เรื่องเมโลดีก็ทำให้ผมต้องหวนระลึกนึกย้อนไปถึงหญิงสาวคนหนึ่งชื่อน้องกุ๊กไก่ ที่เคยเรียนชั้นป. 2 ด้วยกัน ซึ่งเป็นการแอบรักอยู่ฝ่ายเดียวครั้งแรกในชีวิตของผม
ถ้าเธอเผอิญได้มีโอกาสอ่านข้อเขียนชิ้นนี้ ผมก็อยากจะบอกว่า ยังคิดถึงอยู่เสมอ และขอโทษด้วยที่เคยทำตัวโรแมนติคแซ่บซึ้ง ด้วยการแย่งขนมของกุ๊กไก่มากิน
ยังรู้สึกผิดไม่หาย ที่ครั้งหนึ่งในอดีต ผมเคยทำให้กุ๊กไก่ต้องเสียน้ำตา (กุ๊กไก่คงไม่รู้หรอกว่า ลึก ๆ ในใจผมเจ็บปวดยิ่งกว่าเธอมากมายหลายเท่า โฮ! เขียนไปแล้วก็รู้สึกเศร้าและน้ำเน่าจังเลย)
(เผยแพร่ครั้งแรกในคอลัมน์ Romantic Comedy นิตยสาร Hamburger)
1 ความคิดเห็น:
ใช้บริการแม่สายเหมือนกันเลย
ปฮ. ขอให้หาน้องกุ๊กไก่เจอนะคะ
\(*.*)/
แสดงความคิดเห็น